อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการสู้รบอย่างดุเดือดในเมืองบัคมุต ผู้นำยูเครนได้เดินทางเยือนเยอรมนีและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรรายใหญ่ของยูเครนในยุโรป เพื่อขอแรงสนับสนุนยูเครนโดยเฉพาะด้านอาวุธ
วันนี้ 15 พ.ค.โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ได้เดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรและพบกับริชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะหารือร่วมกัน ประธานาธิบดีเซเลนสกีระบุว่า ประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกมาหารือร่วมกับผู้นำอังกฤษคือเรื่องการขอความช่วยเหลือฉุกเฉินเร่งด่วนให้กับยูเครน โดยที่ยังไม่ระบุรายละเอียดใดๆ
เอกสารลับที่ถูกอ้างเป็นข้อมูลข่าวกรองสหรัฐฯ คาดสงครามยูเครน-รัสเซีย มีแนวโน้มยืดเยื้อตลอดปี
“ปูติน” เคยให้คำมั่น จะไม่พยายามสังหาร “เซเลนสกี”
นอกจากนี้ สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำลังจะประกาศมอบความช่วยเหลือทางการทหารเพิ่มเติมให้แก่ยูเครนตามประเทศยุโรปอื่นๆ
ความช่วยเหลือชุดใหม่นี้คาดว่าจะมีขีปนาวุธของระบบป้องกันภัยทางอากาศกว่า 100 ลูกที่สามารถยิงสกัดโดรนได้ไกลถึง 200 กิโลเมตรและคาดการณ์ว่าจะส่งมอบได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
การเยือนสหราชอาณาจักรวันนี้ เกิดขึ้นต่อเนื่องหลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดียูเครน ได้เดินทางถึงประเทศฝรั่งเศสและพบกับเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เพื่อรับประทานอาหารค่ำและหารือร่วมกัน
วาระหลักในการหารือของผู้นำยูเครนและผู้นำฝรั่งเศสในรอบนี้ คือความช่วยเหลือด้านการทหารและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ยูเครน
การพบกันระหว่างประธานาธิบดีเซเลนสกีและประธานาธิบดีมาครงครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่ผู้นำยูเครนปฏิบัติภารกิจเยือนอิตาลีและเยอรมนี เพื่อขอแรงสนับสนุนท่ามกลางกระแสว่ายูเครนเตรียมปฏิบัติการโต้กลับในฤดูใบผลิในเร็วๆ นี้
ย้อนกลับไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้เดินทางเยือนอิตาลีและเข้าพบกับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งพระศาสนจักรคาทอลิกและประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน นี่คือการพบกันครั้งแรกระหว่างผู้นำยูเครนและประมุขแห่งพระศาสนจักรคาทอลิกในรอบ 3 ปี
ทั้งคู่ได้หารือร่วมกันนานกว่า 40 นาที ก่อนที่ผู้นำยูเครนจะมอบเสื้อกันกระสุนของทหารยูเครนที่มีรูปวาดของพระแม่มารี พระมารดาของพระเยซูคริสต์ให้แก่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นที่ระลึก
นอกจากสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส ผู้นำยูเครนยังได้พบกับแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี และได้หารือร่วมกัน ก่อนที่ประธานาธิบดีอิตาลีจะสัญญาว่า อิตาลีจะยืนหยัดเคียงข้างยูเครนต่อไป
หลังจากนั้น ผู้นำยูเครนได้เข้าพบกับจอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี เพื่อหารือร่วมกัน ก่อนที่ทั้งคู่จะออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยนายกฯ เมโลนียืนยันชัดเจนว่าอิตาลีจะสนับสนุนยูเครนในด้านต่างๆ ตราบเท่าที่ยูเครนจำเป็นต้องพึ่งพาอิตาลี
ต่อมา ผู้นำยูเครนได้เดินทางจากอิตาลีต่อไปยังกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี เพื่อเข้าพบและหารือร่วมกับโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประเด็นหลักที่ทั้งคู่หารือร่วมกันมี 2 ประเด็นคือ ประเด็นการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของยูเครนและประเด็นการสนับสนุนอาวุธเพิ่มเติมให้แก่ยูเครน
สำหรับประเด็นการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของยูเครนนั้น นายกรัฐมนตรีเยอรมนีระบุว่า เยอรมนีจะสนับสนุนทุกวิถีทางเพื่อให้ยูเครนสามารถเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกสหภาพยุโรปให้ได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่วนประเด็นการสนับสนุนอาวุธเพิ่มเติมให้แก่ยูเครนเมื่อวานนี้ สำนักข่าวเดอร์สปีเกลของเยอรมนีรายงานว่า รัฐบาลเยอรมนีประกาศมอบความช่วยเหลือทางการทหารมูลค่ากว่า 2,700 ล้านยูโรหรือราว 99,000 ล้านบาทให้ยูเครน
โดยจะประกอบไปด้วยรถถังเลพเพิร์ด-1 จำนวน 30 คัน ยานยนต์หุ้มเกราะรุ่นมารเดอร์ 20 คัน รถถังต่อต้านอากาศยานเกพาร์ด 15 คัน โดรนลาดตระเวนกว่า 200 ลำ และระบบป้องกันภัยทางอากาศรุ่นไอริส-ที อีก 4 ระบบ
นอกจากนี้ ขณะแถลงข่าวร่วมกันนายกรัฐมนตรีเยอรมนียังได้พูดถึงเรื่องการโต้กลับในฤดูใบไม้ผลิหรือ Spring offensive ของยูเครนด้วย โดยระบุว่า
ขอให้ยูเครนโชคดีกับการโต้กลับในฤดูใบ้ไม้ผลิที่กำลังจะเกิดขึ้น ตลอดจนยูเครนพร้อมแล้วสำหรับสันติภาพที่กำลังจะมาถึง
อย่างไรก็ดี แม้ว่ายูเครนจะได้อาวุธเพิ่มเติมจากเยอรมนีแล้ว แต่ผู้นำยูเครนยังได้กล่าวย้ำกับนายกฯ ชอลซ์ว่า ยุทโธปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ยูเครนยังต้องการคือ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ และขอให้ผู้นำเยอรมนีไฟเขียวสนับสนุนชาติพันธมิตรในการส่งเครื่องบินรบให้ยูเครน
ก่อนที่ผู้นำยูเครนจะย้ำอย่างหนักแน่นว่า อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ต่างๆ ที่ยูเครนได้รับมาหรือกำลังจะได้รับ จะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อโจมตีแผ่นดินรัสเซีย ยูเครนจะนำอาวุธเหล่านั้นมาใช้เพื่อปลดปล่อยดินแดนของตนเองที่ถูกรัสเซียยึดครองเท่านั้น
การออกมายืนยันเช่นนี้ของยูเครนเป็นไปเพื่อให้ความมั่นใจแก่บรรดาชาติพันธมิตรตะวันตกว่า สงครามยูเครนจะไม่ลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสงครามรัสเซียกับชาติสมาชิกนาโต หรือสงครามนิวเคลียร์ หลังจากเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อต่างประเทศรายงานว่ายูเครนมีแผนที่จะโจมตีแผ่นดินรัสเซีย
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา สำนักข่าววอชิงตันโพสต์รายงานข่าวโดยพาดหัวว่า เอกสารลับสหรัฐฯ ที่รั่วไหลเมื่อเดือนที่แล้วชี้ให้เห็นว่าผู้นำยูเครนมีแผนโจมตีแผ่นดินรัสเซีย สำนักข่าววอชิงตันโพสต์ได้อ้างอิงข้อมูลลับสุดยอดในเอกสารทางการทหารและความมั่นคงของสหรัฐฯ ชุดหนึ่งในบรรดา 50 ชุดที่รั่วไหลออกมาบนแอปพลิเคชันดิสคอร์ด (Discord) เมื่อเดือนที่แล้ว
เอกสารลับชุดใหม่ที่ถูกเปิดเผยออกมา ระบุว่าสหรัฐฯ พยายามยับยั้งท่าทีที่รุนแรงของผู้นำยูเครนเกี่ยวกับเรื่องการโจมตีแผ่นดินรัสเซีย ซึ่งตรงกันข้ามกับภาพลักษณ์ที่ผู้นำยูเครนเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองเป็นผู้อดทนต่อการโจมตีอันโหดร้ายของรัสเซีย เอกสารลับระบุท่าทีของผู้นำยูเครนในช่วงเวลาต่างๆ ไว้อย่างละเอียด ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่ถูกบันทึกไว้ ค่อนข้างตรงข้ามกับสิ่งที่โลกได้เห็นผู้นำยูเครนผ่านสื่อในทุกๆ วัน
ข้อมูลตอนหนึ่งในเอกสารลับระบุว่า ในการประชุมเมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้นำยูเครนเสนอกองทัพให้โจมตีแผ่นดินรัสเซีย พร้อมกับส่งกองกำลังไปยึดหมู่บ้านบริเวณชายแดนของรัสเซียด้วย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองสงบศึกกับรัฐบาลรัสเซีย
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอีกตอนหนึ่งที่ระบุว่า ในการประชุมแยกระหว่างประธานาธิบดียูเครนและวาเลรี ซาลุชนี ผู้บังคับบัญชาทางการทหารระดับสูงของยูเครน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
วาเลรี แสดงความกังวลกับผู้นำยูเครนว่า กองทัพไม่มีขีปนาวุธพิสัยไกลโจมตีฐานทัพรัสเซียที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินรัสเซีย ก่อนที่ผู้นำยูเครนจะให้คำแนะนำว่าให้ใช้โดรนเพื่อโจมตีฐานทัพรัสเซียแห่งหนึ่งในแคว้นรอสตอฟออนดอน ทางตะวันตกของรัสเซียแทน
นอกจากเป้าหมายทางการในรัสเซียแล้ว ข้อมูลในเอกสารลับตอนหนึ่งระบุว่า ในระหว่างการประชุมร่วมกับยูเรีย สวีรีเดนโก รองนายกรัฐมนตรี ผู้นำยูเครนเคยเสนอให้ระเบิดท่อก๊าซสำคัญของรัสเซียด้วย เอกสารลับระบุว่าท่อก๊าซดังกล่าวที่อาจตกเป็นเป้าหมายการโจมตีคือ ท่อก๊าซดรุชบา ซึ่งเป็นท่อก๊าซที่ส่งตรงจากรัสเซียไปยังฮังการี
สาเหตุที่ต้องเป็นท่อนี้เป็นเพราะถ้าท่อก๊าซดรุชบาเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของฮังการี เนื่องจากฮังการีเป็นประเทศที่พึ่งพาก๊าซจากรัสเซียมากถึงร้อยละ 80-85 ของปริมาณก๊าซทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ
ส่วนแรงจูงใจของเรื่องนี้ เอกสารลับระบุว่าเป็นเพราะประธานาธิบดียูเครนไม่พอใจรัฐบาลฮังการี เนื่องจากประธานาธิบดีวิกเตอร์ ออร์บานของฮังการี มีความสนิทสนมกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียมากถ้าเทียบกับบรรดาประเทศยุโรปอื่นๆ แต่เอกสารลับระบุเพิ่มเติมว่า ผู้นำยูเครนอาจแค่โมโหฮังการี เลยใช้คำเกินจริงและคุกคามฮังการี แต่อาจไม่ได้มีเจตนาที่จะทำเรื่องนี้จริง
อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนได้ออกมาปฏิเสธเรื่องที่ปรากฏในเอกสารลับที่รั่วไหลเหล่านี้ตั้งแต่เมื่อเดือนที่แล้วว่าทั้งหมดเป็น “เรื่องที่ถูกแต่งเติม” แต่ผู้นำยูเครนก็ได้ปกป้องสิทธิของยูเครนที่จะใช้กลยุทธ์การทำสงครามนอกแบบ (Unconventional warfare) เพื่อปกป้องประเทศของตนเอง โดยการทำสงครามนอกแบบนี้ อาจเป็นการรบแบบกองโจร การก่อวินาศกรรม หรือการใช้โดรนก็ได้
หลายฝ่ายจึงตั้งข้อสังเกตว่านี่อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้สหรัฐฯ ยืนกรานหนักแน่นว่าจะไม่ส่งอาวุธพิสัยไกลที่สามารถโจมตีไปถึงแผ่นดินรัสเซียให้ยูเครน เนื่องจากการโจมตีแผ่นดินรัสเซียเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและอาจทำให้สหรัฐฯ ต้องเผชิญหน้ากับรัสเซียโดยตรง จนกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่สาม
แม้สหรัฐฯ จะยืนกรานไม่ส่งขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครน แต่ดูเหมือนว่าสหราชอาณาจักรมีความเห็นที่ตรงกันข้าม และได้ออกมายืนยันว่าส่งขีปนาวุธพิสัยไกลไปให้ยูเครนแล้ว
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เบน วอลเลซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรยืนยันว่า สหราชอาณาจักรได้ส่งขีปนาวุธร่อนรุ่นสตรอม ชาโดว์ (Strom Shadow) ที่มีพิสัยการยิงอยู่ที่ 250 กิโลเมตรไปให้ยูเครนใช้ ซึ่งไกลกว่าระบบไฮมาร์สของสหรัฐฯ ถึง 3 เท่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรอธิบายสาเหตุของการส่งขีปนาวุธพิสัยไกลรุ่นนี้ให้ยูเครนว่า ขีปนาวุธนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ยูเครน “ปกป้องตนเอง” ได้มากขึ้นนี่ทำให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นชาติพันธมิตรชาติแรกที่ตัดสินใจส่งขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครน
หลังจากการแถลงของรัฐมนตรีว่าการกลาโหมสหรัฐฯ เพียง 2 วัน อิกอร์ โคนาเชนคอฟ โฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ได้ออกมารายงานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ยูเครนได้ใช้ขีปนาวุธร่อนรุ่นสตรอม ชาโดว์ โจมตีพื้นที่ของแคว้นลูฮันสก์ที่อยู่ภายใต้การครอบครองของรัสเซีย จนอาคารต่างๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก